ประวัติและความเป็นมาของวัดเดิมบาง







ประวัติความเป็นมาของวัดเดิมบาง
 
จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโส และบันทึกความทรงจำ ของอาจารย์ พิวัฒน์ อภิญญานนท์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัดเดิมบาง ชุมชนดังเดิมของบ้านเดิมบางบางส่วนอพยพมาจากกรุงเทพฯ ธนบุรี นนทบุรี เป็นชาวสวน หลวงพ่อสีที่เป็นพระมาจากกรุงเทพฯ ได้รับนิมนต์มาจำพรรษาอยู่บริเวณวัด เดิมบางในขณะนั้น ซึ่งมีร่องรอยวิหารเก่าและเจดีย์ ซึ่งเชื่อกันว่าคงสร้างไว้สมัยเดียวกับวัดใต้ วัด บนยอดเขาใหญ่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสันนิษฐานว่าบริเวณแถบนี้ชอบสร้างวัดบนยอดเขา ร่องรอยของโบราณวัตถุ น่าจะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเมืองลพบุรีมาแต่สมัยโบราณอย่างไรก็ตามจากพระราชวินิจฉัยของพระองค์ว่า พบหลักฐานทางโบราณวัตถุน้อยมาก จึงต้องพิจารณาหลักฐานอื่นๆ ที่ยังเหลืออยู่ได้แก่ พระเจดีย์เก่าที่มีลักษณะย่อมุมไม้สิบสอง เป็นสถาปัตยกรรมออกแบบที่นิยมสร้างกัน ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดเดิมบางเชื่อกันว่าหลวงพ่อสีได้บูรณะ และสร้างกฏิไม้ ๒ หลัง ฝาขัดด้วยไม่ไผ่หลังคา มุงแฝก ต่อมาญาติโยมได้ถวายเครื่องไม้ปลูกศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลัง เมื่อหลวงพ่อสีมรณภาพแล้วมีเจ้าอาวาสองค์ต่อๆมา ได้แก่ หลวงพ่อวงฆ์ หลวงพ่อตา พระอาจารย์โพธิ์ จนกระทั่งถึงสมัย หลวงพ่อแจ่มขึ้นเป็นเจ้าอาวาส ระหว่าง พ.ศ.๒๔๐๙ - ๒๔๒๐หรือต้นรัชกาลที่ ๕ ถ้าสันนิษฐานช่วงอายุ เจ้าอาวาส ๔ องค์ๆ ละ ๒๐ ปี ย้อนไป ๘๐ ปี ก็คงราว พ.ศ.๒๓๔๐ สมัยรัชกาลที่ ๒-๓ จากคำบอกเล่าพ่อแก่แม่เฒ่าเครือบ นุ่มดี เล่าให้ฟังว่า แม่เฒ่าอพยพหนีทาสมาจากธนบุรี หรือคำบอกเล่าของผู้อาวุโสบางท่านว่า ผู้ใหญ่ของท่านอพยพมาจากนนทบุรีเช่นกัน ในสมัยหลวงพ่อแจ่ม รัชกาลที่ ๕ เสด็จประภาสต้นลำน้ำมะขามเฒ่า มาถึงวัดเดิมบาง ๑๘ ต.ค.๒๔๕๑ ประมาณ ๓ โมงเช้า มีราษฎรสร้างพลับพลา ซึ่ง ร.๕ เรียกวัดนี้ว่า “ วัดคงคา ” อยู่ฝั่งใต้แขวงเมืองชัยนาท หลังจาก รัชกาลที่ ๕ เสด็จกลับกรุงเทพฯ เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล พระศพพระองค์เจ้าอรุพงศ์ ณ พระบรมมหาราชวัง ทรงนิมนต์ให้หลวงพ่อไปในงานพระราชพิธีดังกล่าว ท่านได้ให้พระฎีกาอิ่มไปแทน ทรงถวายสิ่งของต่างมาให้ ดังนี้
๑.เรือเป็ด
๒.ปิ่นโต
๓.บาตรใบใหญ่
๔. พัด “ อุรุพงศ์ ” มีรูปสันตดุสิตนกยูง ร.ศ.๑๒๘
๕. ขันน้ำพานทองอลูมิเนียม
๖. กระโถนอลูมิเนียม
และยังมาสิ่งของอื่นๆ รวม ๑๒ อย่าง








ที่ตั้ง



วัดเดิมบาง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี



มีเนื้อที่ ๔๖ ไร่ มีธรณีสงฆ์ ๑ แปลง จำนวน ๙ ไร่




อาคารเสนาสนะ



๑. พระอุโบสถ กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ อายุกว่า ๑๐๐ ปี ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องราวเกี่ยวกับภาพพุทธประวัติ
 

๒. ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๐.๕๐ เมตร ยาว ๔๙ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ระยะเวลาการก่อสร้าง ๒๕๑๘ - ๒๕๒๕





ศาลาการเปรียญ

๓. ธรรมาสน์ ธรรมาสน์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ สร้างเสร็จ พ.ศ. ๒๔๖๖ ที่สร้างโดยช่างชาวจีน เป็นศิลปะไทยผสมจีน ธรรมาสน์แกะสลักจากไม้ขนุน ปัจจุบันเก็บไว้บนศาลา การเปรียญ





ธรรมาสกว่า ๑๐๐ ปี

๔. มณฑปหลวงพ่อแจ่ม - หลวงพ่อแบน ภายในยอดมณฑป ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ สร้างเสร็จเมื่อปี ๒๕๔๙ เฉลิมฉลองเมื่อวันที่ ๑๒-๑๔ เมษายน ๒๕๔๙





มณฑปหลวงพ่อแจ่ม-หลวงพ่อแบน

๕. รอยพระพุทธบาทจำลองกว่า ๑๐๐ ปี ปัจจุบันเก็บไว้บนภายในมณฑป หลวงพ่อแจ่ม-หลวงพ่อแบน





รอยพระพุทธบาทกว่า ๑๐๐ ปี

๖. วิหาร กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๐ เมตร อายุเกินกว่า ๑๐๐ ปี





วิหาร

๗. เจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสอง เจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสองสร้างมาพร้อมวิหาร





เจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสอง

๘. ปรก ลักษณะคล้ายกุฎิเล็กๆ ๙ หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ สร้างไว้เพื่อให้สงฆ์อยู่ปริวาสกรรม





ปรก

๙. หอระฆัง ๑ หลัง





หอระฆัง

๑๐. กุฎิไม้ กุฎิไม้เก่าแก่ จำนวน ๑๐ หลัง





กุฎิไม้

๑๑. พระประธานปางป่าเลไลยก์ ที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ





พระประธานปางป่าเลไลยก์ ภายในในพระอุโบสถ

๑๒. ศาลาหลังเก่า ที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ปัจจุบันได้ถูกรื้อไปแล้ว





ศาลาหลังเก่า ริมแม่น้ำท่าจีน

๑๓. ฆ้องใหญ่ หน้ามณฑปหลวงพ่อแจ่ม หลวงพ่อแบน ถวายโดยพระครูพิทักษ์ธรรมโชติ ที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอเดิมบางนางบวช





ฆ้องใหญ่









อุโบสถก่อนการบูรณะ







อุโบสถหลังบูรณะ




รู้หรือไม่ว่า ชื่อวัดนั้นมาจากไหนวัด





แต่เดิมในสมัยครั้งพุทธกาลนั้น ยังไม่มีการสร้างอาคารสถาน ให้เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะเจาะจง เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงไม่อนุญาตให้พระภิกษุมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งถาวร ด้วยจะทำให้เกิดความยึดติดในทรัพย์ทางโลก จึงทรงกำหนดสถานที่สำหรับใช้เป็นที่อาศัพพื้นฐานสุด คือ "รุกขมูลเสนานะ" อันหมายถึงการอยู่รอบใต้ต้นไม้ แล้วให้จากริกไปเรื่อยๆ ทั้งนี้เพื่อมิให้จิตมีสิ่งผูกพัน เมื่อพระพุทธเจ้าพร้อมเหล่าสาวกออกเผยแผ่พระศาสนา ปรากฎว่า มีผู้เลื่อมใสศรัทธาพากันบวขเป็นพระภิกษุสงฆ์จำนวนมากมายที่ไม่ได้บวชต่างก็ให้ความอุปถัมภ์เกื้อกูลเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งนครราชคฤห์ ทรงประกาศตนเป็นองค์ศาสนูปถัมภ์ต่อพุทธศาสนา ทั้งทรงถวาย "เวฬุวัน" ให้เป็นที่ประทับของพระพุทธองค์และเหล่าพุทธสาวก ซึ่งพระองค์ทรงรับไว้ สมัยหลังพุทธกาล เมื่อมีการสร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้น ทำให้บริเวณเหล่านี้เกิดเป็นที่ชุมนุมของเหล่าพระสงฆ์ และคฤหัสถ์ ที่เดืนทางมาถึง ที่สุดแล้วก็เกิดมีพระภิษุบางรูปสมัครใจที่จะอยู่พำนักเพื่อบำรุงรักษาสังเวชนียสถานเหล่านั้น ทั้งมีผู้ศรัทธาสร้างที่พักกุฏิสงฆ์ถวายแด่พระภิกษุดังกล่าว สถานที่นี้ ในที่สุดได้กลายสภพาเป็น "วัด" ที่สมบูรณ์แบบ สืบทอดกันมา จนเกิดเป็นแบบอย่างชัดเจนร ดังปัจจุบัน
ด้วยเพราะวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ มิใช่มุ่งเน้นให้บำเพ็ญวิปัสสนาญาณเท่านั้น หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก้คือ การจาริกออกไป ณ ที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระธรรมคำสอนอีกด้วย และเป็นมูลเหตุให้ทรงมีพระพุทธานุญาต ให้พระภิกษุสามารถรับอารามที่เหล่าทายกถวายได้ อาทิ เชตวนาราม ที่หมาเศรษฐีอนาถบิณฑิกะ แห่งกรุงสาวัตถี สร้างถวาย หรือปุพพารามวิหาร ที่นางวิสาขสร้างถวาย แต่ถือได้ว่า เวฬุวนารามเป็นวัดแห่งแรกของพระพุทธศาสนา
ด้วยเหตุที่การสร้างวัดกลายเป็นประเพณีที่นิยมกันในที่ต่างๆ วัดจึงมีปรากฎอย่างแพร่หลาย ทั้งในเมืองใหญ่และชนบท จนทำให้จุดมุ่งหมายเดิมของการบวชนั้น เปลี่ยนไปในเวลาต่อมา สำหรับวัดแห่งแรกในประเทศไทยนั้น คือ วัดปุณณารามดำรงอริยสงฆ์ ซึ่งพระเจ้าทับไทยทองสร้างประมาณศตวรรษที่ 24 หลับกลับจากเวฬุวัน สร้างที่หนองยาว หรือหนองวัด ใกล้ๆ กับบ้านโพธิงาม และหนองเกษตร (คูบัราชบุรี) ถวายพระปุณณเถระ ให้ใช้เป็นที่บรรยายธรรมเผยแผ่พุทธศาสนา (ตามจารึกกระเบื้องจาร แผ่นที่ 8 หน้า 2 ) ปัจจุบันไม่ซากเหลือให้เห็น กลายเป็นเพื้นนาที่เรียกว่า หนองวัด ในบริเวณเมืองโบราณคูบัว
นอกจากนี้แล้วยังมีวัดที่สร้างในลำดับต้นๆ ของดินแดนสุวรรณภูมิ เช่น วัดศรีมหาธาตุแดนลว้า พระเจ้าโลกกนลว่า หรือโลกลว้า สร้าง ห่างจากวัดแรกถึง 256 ปี ที่ย่านบ้านใหม่ บริเวณคูบัว , วัดบรมธาตุเจดีย์ใหญ่ ที่เมืองเถือมทอง หรือถมทอง คือ วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐมในปัจจุบัน , วัดมหาธาตุอู่ทอง (สุภรรณบุรี) วัดป่าเรไร นอกเมืองอู่ทอง (สุพรรณบุรี) , วัดมหาธาตุนองทอง (กาญจนบุรี) , วัดดงสักมหาธาตุ เมืองขอมพงตึด (นอกกาญจนบุรี) , วัดมหาธาตุเมืองธัมมราช ตัวเมืองเสริมสร้างจากเมืองเดิมชื่อเมือง ช้างค่อม ปัจจุบันคือ จ.นครศรีธรรมราช นั่นเอง
วัดต่างๆ ที่ปรากฎนามเพื่อเรียกขายกันนั้น มีที่มาแห่งการตั้งชื่อกันดังนี้
1. ขนานนามตามสิ่งสำคัญที่เกี่ยวเนื่องพระพุทธเจ้า เช่น วัดพระศีรสรรเพชญ์ อยุธยา
2. ขนานนามตามฐานานุศักดิ์ของผู้สร้าง ผู้สร้างอุทิศให้ เช่น วัดราชบูรณะ อยุธยา
3. ขนานามตามเหตุการณ์ที่เป็นศุภนิยมเช่น วัดอรุณราชวราราม ธนบุรี
4. ขนานามตามชื่อวัดสำคัญแต่โบราณ เช่น วัดเวฬุวนาราม
5. ขนานามตามลักษณะสิ่งสำคัญภายในวัด เช่น วัดหลวงพ่อโต บางพลี จ.สมุทรปราการ
6. ขนานามตามชื่อตำบลที่ตั้ง หรือสภาพพื้นที่ตั้ง เช่น วัดไผ่ล้อม
7. ขนานามตามชื่อผู้สร้าง เช่น วัดใหม่ยายนุ้ย
ที่มา : ชั่วโมงเซียน นสพ. คมชัดลึก
 

พระปางป่าเลไลยก์



พระประธานปางป่าเลไลยก์ ภายในพระอุโบสถวัดเดิมบาง

พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถนั่งบนก้อนศิลา ห้อยพระบาททั้งสอง ทอดพระบาทน้อย ๆ พระหัตถ์ซ้ายคว่ำวางบนพระชานุ พระหัตถ์ขวาหงายวางบนพระชานุเป็นพระกิริยาทรงรับ นิยมเรียกว่า "พระป่าเลไลยก์" พระพุทธรูปปางนี้ นิยมสร้างเป็นพระบูชาสำหรับคนเกิดวันพุธกลางคืน นับเข้าในเวลาพระราหูตามพิธีทักษา แม้คนที่มีอายุเข้าในเกณฑ์ดวงชะตาพระราหูเสวยอายุก็นิยมบูชา ถือว่าเป็นพระประจำเทวดานพเคราะห์ โดยเหตุที่พระพุทธรูปปางนี้ได้พระนามว่าพระปางป่าเลไลยก์ ก็เพราะช้างป่าเลไลยก์เชือกนี้พระปางนี้ส่วนมากนิยมสร้างช้างหมอบถวายกระบอกน้ำอยู่แทบเท้าและลิงนั่งถวายรวงผึ้ง เป็นนิมิตรร่วมอยู่ด้วยกัน
ข้อมูลทั่วไปของวัดเดิมบาง